รู้เขา รู้เรา รู้โลก รู้โศก รู้สุข ไม่สิ้นหวัง เพราะอ่านได้อ่านดีมีพลัง ห้องสมุดคือขุมคลังของชีวิต สุจิตต์ วงษ์เทศ
 
รายการหลัก
 
 
MENU LINK :
 
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม
Website Hit Counter

 

 

 

อดีต
ปัจจุบัน
ยุคแรกของอาคาร 1
อาคาร 1 ในปัจจุบัน
อาคาร 1 ฤดูฝนน้ำจะไหลหลากท่วมบริเวณโรงเรียน ปัจจุบันมีการสร้างโดมไว้ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน

 

โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิืทยา" ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ตั้งเป็นโรงเรียนขึ้นนั้น ได้มีการจัดเตรียมที่ดินไว้ล่วงหน้า ตั้งแต่ พ.ศ.2498 โดยมีท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพนมสารคาม ท่านเป็นผู้ดำริ ริเริ่มที่จะให้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอขึ้น โดยท่านได้เชิญชวนและบอกบุญแก่ญาติโยมให้ช่วยกันบริจาคจัดเงินซื้อที่ดิน ในที่สุดก็สำเร็จตามความประสงค์ คือสามารถซื้อที่ดินได้ จำนวน 10 ไร่ 2 งาน เมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม 2498 เป็นเงิน 10,000 บาท และต่อมาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2499 ได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 2 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวาเป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นที่ดินทั้งหมดจำนวน 13 ไร่ 96 ตารางวา คิดเ็ป็นเงิน 13,000 บาท (ข้อมูลจากทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้ของโรงเรียน หน้า 1)

ในระหว่างที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินอยู่นั้น ก็ได้เสนอเรื่องราวขออนุญาตตั้งโรงเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการไปพร้อมกัน โดยมีนายเสริมศักดิ์ โคจรสวัสดิ์ อดีตนายอำเภอพนมสารคาม และนายจวน กุลละวณิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการ จนสำเร็จได้รับอนุมัติให้ตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญประจำอำเภอ และให้เปิดทำการสอนได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2499

ดังนั้น โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" จึงได้เปิดทำการสอนเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2499 และในการเปิดสอนครั้งแรกนี้ยังไม่มีอัตราครูมาให้ จึงได้มอบหมายให้นายเกษม โอสถานนท์ อดีตผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอพนมสารคามทำการสอนเป็นครั้งแรก และรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ไปพลางก่อน

ในการเปิดสอนเป็นครั้งแรกดังกล่าว โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" ยังไม่มีอาคารเรียนถาวรหรืออาคารเรียนชั่วคราวเป็นของโรงเรียนเองเลย มีแต่ที่ดิน 13 ไร่ 96 ตารางวา ดังนั้นจึงต้องไปอาศัยเรียนที่ "โรงเรียนศรีพนม" ที่วัดท่าเกวียน ซึ่เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมของพระสงฆ์ ต่อมาการเรียนที่นี่มีอุปสรรค คือ ฤดูฝนน้ำจะไหลหลาก ท่วมบริเวณโรงเรียน ทำให้การไปมาของนักเรียนไม่สะดวก จึงขออนุญาตใช้หอประชุมอำเภอพนมสารคาม เป็นสถานที่เรียนแล้วย้ายจากโรงเรียนศรีพนมมาเรียนที่หอประชุมอำเภอเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2500 รวมเวลาที่ใช้สถานที่โรงเรียนีศรีพนม 1 ปี 4 เดือน ในขณะที่นักเรียนรุ่นแรกยังเรียนอยู่ที่หอประชุมอำเภอนั้น โรงเรียนยังก่อสร้างอาคารเรียนไม่เสร็จฉะนั้นนักเรียนรุ่นที่ 1 จึงเรียนจบหลักสูตรสูงสุดที่หอประชุมอำเภอนี้เอง

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2500 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงิน ก.ศ.ส. 750,000 บาท(เจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ให้สร้างอาคารเรียนถาวรหลังแรกขึ้น เป็นตึก 2 ชั้น จำนวน 12 ห้องเรียน ได้แก่ อาคาร 1 ในที่ดินที่ตั้งอยู่ัปัจจุบันโดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2501 จนเสร็จเรียบร้อยและเปิดใช้เป็นสถานที่เรียนได้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2502

โดยเหตุที่ท่่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี ท่านเป็นผู้ริเริ่มและรับเป็นภาระธุระในเรื่องการจัดหาเงินซื้อที่ดินและดูแลการก่อสร้างด้วยความเอาใจใส่ ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก มีแต่เมตตาธรรม หวังที่จะให้มีโรงเรียนมัธยมไว้ให้ลูกหลาน ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ใกล้บ้าน จะได้เป็นผู้มีความสามารถ มีความเจริญก้าวหน้าสืบไปนับเป็นความดำริที่มองเห็นการณ์ไกลเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาลสุดที่จะพรรณนา ทางราชการและประชาชนจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรใช้ชื่อสมณศักดิ์ของท่านเป็นชื่อโรงเรียน เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานยกย่องเกียรติยศถวายแด่ท่าน ดังนั้นโรงเรียนจึงชื่อว่า โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ประชาชนทั่วไปมักเรียนชื่อสั้น ๆ จนติดปากว่า "โรงเรียนพนมอดุลวิทยา" และหลังจากได้ตั้งโรงเรียนจนเป็นที่สำเร็จเรียบร้อยดังกล่าวแล้ว โรงเรียนนี้ก็ได้เจริญเติบโตมาโดยลำดับ ปัจจุบัน นายชาติชาย ฟักสุวรรณ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา

 
ทำเนียบผู้บริหาร
 
ชื่อผู้บริหาร
ตำแหน่ง
ระยะเวลา

นายเกษม โอสถานนท์

นายสุจริต มาปรีดา

นายเล็ก อิ่้มสำราญ

นายสุจริต มาปรีดา

นายประจิต สุริยกุล ณ อยุธยา

นายสุมล พุ่มผลึก

นายพิชัย โรจนตระกูล

นายเสวก ใหลสกุล

นายประสิทธิ์ แสนสุข

นายสงคราม อุทัย

นายสมบูรณ์ ธุวสินธุ์

นายอำนาจ เดชสุภา

นายโสภณ สุขเสวี

นายชาติชาย ฟักสุวรรณ

รักษาการครูใหญ่

รักษาการครูใหญ่

ครูใหญ่

รักษาการตำแหน่งครูใหญ่

ครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่-ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

17 พ.ค. 2499 - 18 พ.ค. 2499

19 พ.ค. 2499 - 4 ก.พ. 2501

5 ก.พ. 2501 - 15 มิ.ย. 2501

16 มิ.ย. 2501 - 4 ส.ค. 2501

5 ส.ค. 2501 - 4 พ.ค. 2524

5 พ.ค. 2524 - 8 พ.ค. 2525

9 พ.ค. 2525 - 2529

2529 - 2533

2533 - 2535

2536 - 2540

2540 - 2543

2544 - 2547

2547 - ตุลาคม 2555

พฤศจิกายน 2555 - ปัจจุบัน

 

ประวัติโรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"